BWN

เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด Beach Watch Network (BWN)

เป็นเครือข่ายอิสระที่เผยแผ่ความรู้ และข้อมูลสถานการณ์การพังทลายของชายหาดทราย ฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งอยู่ในสภาพวิบัติ ให้ช่วยกันรักษาไว้

ท่านสามารถมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาดได้ ด้วยการเลือกภาพของเครือข่ายฯไปใช้เป็นลายเซ็นในการตอบกระทู้ที่เวบบอร์ดต่างๆ แล้วลิ้งมาที่
เวบไซด์  : http://www.bwn.psu.ac.th
บล้อค     : https://beachconservation.wordpress.com
เฟสบุ้ค   : http://www.facebook.com/beachwatchnetwork

http://s1098.photobucket.com/albums/g378/danuchai/?action=view&current=bwnsign1.jpg

———————————————————————-

http://s1098.photobucket.com/albums/g378/danuchai/?action=view&current=bwnsign2.gif

———————————————————————-

แบบเหี้ยมๆอย่างนี้ก็มีนะ (‵▽′)ψ

http://s1098.photobucket.com/albums/g378/danuchai/?action=view&current=bwnsign3.jpg

———————————————————————-

http://s1098.photobucket.com/albums/g378/danuchai/?action=view&current=bwnsign7.jpg

———————————————————————-

http://s1098.photobucket.com/albums/g378/danuchai/?action=view&current=bwnsign5.jpg

———————————————————————-

โลมานักเฝ้าระวังชายหาด มัสคอตของโครงการ

http://s1098.photobucket.com/albums/g378/danuchai/?action=view&current=bwnsign6.jpg

———————————————————————-

การกัดเซาะชายฝั่งภาคใต้อ่าวไทย สาเหตุและแนวทางแก้ไข

โดย ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ โทร 074-287124

email : somboon.p@psu.ac.th, website BWN http://www.bwn.psu.ac.th/index.html

19 พ.ค. 2552

สาเหตุหลักของการกัดเซาะชายฝั่ง

1. การสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำแนวชายหาดที่มีผลให้คลื่นเปลี่ยนทิศทาง เช่น เขื่อนกันคลื่น เขื่อนกันทรายและคลื่น กำแพงตลิ่ง ท่าเรือ ฯ

2. การยับยั้งการเคลื่อนที่ของทรายตามแนวชายฝั่ง เช่น รอดักทราย การถมดินในทะเลริมชายฝั่ง ฯ

3. การทำให้ตะกอนดินและทรายหายไปจากชายฝั่ง เช่น การขุดลอกสันดอนและร่องน้ำปากแม่น้ำ ฯ

4. การจงใจทำลายชายหาดด้วยการลักลอบขุดทรายออกจากชายหาด

5. การจงใจเร่งให้หาดถูกกัดเซาะ ด้วยการระบายน้ำฝนและน้ำทิ้งลงสู่ชายหาดโดยตรง

6. การพัฒนาที่ดินชายฝั่งอย่างผิดๆ เช่น การสร้างถนนล้ำแนวชายฝั่ง การก่อสร้างและตัดต้นไม้ริมฝั่งทะเล ฯ

7. ละเลยองค์รวมของธรรมชาติ โดยการดักตะกอนทรายไว้ที่ต้นน้ำและในแม่น้ำ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำ ฝาย ฯ

8. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างฉาบฉวย ด้วยขาดการสูบทรายจากแม่น้ำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ในการก่อสร้าง อุตสาหกรรมแก้ว ฯ

ทั้งหมดข้างต้นทำให้ชายหาดหดสั้นลงและขาดเสถียรภาพในที่สุด เมื่อหาดทรายหายไปฝั่งก็ถูกกัดเซาะทันที

แนวทางแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา

ระยะเร่งด่วนสำหรับเขตชายฝั่งที่วิกฤติ

1. ต้องเร่งให้มีการประเมินโครงการก่อสร้างเขื่อนริมทะเลต่างๆที่ผ่านมา เพื่อนำมาเป็นบทเรียน

2. ต้องเร่งรื้อถอนสิ่งก่อสร้างชายฝั่งใดๆที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้วออกไปโดยเร็ว เพื่อให้ชายฝั่งกลับคืนสู่ธรรมชาติ

3. ฟื้นฟูชายหาดด้วยการถ่ายเทและเติมทราย ฯ

4. เวนคืนพื้นที่ชายฝั่งที่เสียหายเพื่อการจัดการฯ

ระยะปานกลางสำหรับชายฝั่งที่ยังอยู่ในสภาพดี

1. ปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของชายหาด โดยการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและกำหนดไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับ

2. ห้ามสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำแนวชายหาดและริมทะเล

3. ห้ามขุดทรายออกจากชายหาดและสันดอน

4. การขุดลอกร่องน้ำปากแม่น้ำต้องมีการชดเชยตะกอนทรายที่หายไปให้แก่ชายฝั่ง

5. กำหนดโซนชายฝั่งทั่วประเทศเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

6. กำหนดเขตการใช้พื้นดินชายฝั่งเพื่อไม่ให้รุกล้ำแนวชายหาด

7. สร้างมาตรการในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน เช่น การออกกฎหมายสิ่งปลูกสร้าง การกำหนดแนวถอยล่น การจัดทำEIA การจัดทำประชาพิจารณ์ การชดเชยค่าเสียหาย ฯ

8. ส่งเสริมให้มีจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการจากยอดเขา..ถึง..ทะเล ให้เห็นความสัมพันธ์ของตะกอนทรายที่ไหลลงมาหล่อเลี้ยงชายหาดและสร้างแผ่นดินให้กว้างใหญ่

*ช่วยกันเร่งให้ความรู้แก่ประชาชนถึงคุณค่าของชายหาด
และร่วมกันรักษาให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไป*

Leave a comment